Free Cursors
WIPADA ED50105010137: September 2010

WIPADA ED50105010137

You are my destiny

Tuesday, September 21, 2010

ความเป็นครู

ความเป็นครู





ใครว่าอาชีพครูไม่สำคัญ นั่งอ่านหนังสือจิตวิทยาการศึกษาหลายเล่มมาสะดุดที่เล่มนี้จะนำเนื้อหามาบอก ต่อและความน่าสนใจในหนังสือเล่มนี้เขียนพอสรุปว่า จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฏีและหลักการที่จะนำมา ช่วยแก้ปัญหาการศึกษา และส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

จิตวิทยาการศึกษา มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักศึกษาและครู จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนถึงปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการเรียนการสอน เหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ โดยทั่วไปแล้ว เนื้อหาของจิตวิทยาการศึกษาที่เป็นความรู้พื้นฐานสำหลับครูและนักการศึกษา ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

1. ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้น ความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน เพราะวัตถุประสงค์จะช่วยในการเรียนการสอน

2. ทฤษฎีพัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ เป็นเรื่องที่นักการศึกษา และครูจะต้องมีความรู้ เพราะจะช่วยให้เข้าใจเอกลักษณ์ของผู้เรียนในวัย ต่างๆ โดยเฉพาะ วัยอนุบาล วัยเด็ก และวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังศึกษาในโลงเรียน

3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข่าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆแล้ว นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่มทางด้าน ระดับเชาวน์ปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ เพศ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้คิดวิธีการวิจัยที่จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความแตกต่าง ระหว่างบุคคลเป็นตัวแปรที่สำคัญในการเลือกวิธีสอน และในการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม

4. ทฤษฎีการเรียนรู้ นักจิตวิทยาที่สนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้ นอกจากจะสนใจว่าทฤษฎีการเรียนรู้จะช่วยนักเรียนให้เรียนรู้และจดจำอย่างมี ประสิทธิภาพได้อย่างไรแล้วยังสนใจองค์ประกอบเกี่ยวกับตัวของผู้เรียน เช่น แรงจูงใจ ว่ามีความสำพันธ์กับการเรียนรู้อย่างไร ความรู้เหล่านี้ก็มีความสำคัญต่อการเรียนการสอน

5 ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้และพัฒนาการในการ ช่วยนักศึกษาและครู เกี่ยวกับการเรียนการสอนสำหรับเทคโนโลยีในการสอนที่จะช่วยครูได้มากก็คือ คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน

6 หลักการสอนและวิธีการสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้เสนอหลักการสอนและวิธีการสอน ตามทฤษฎีทางจิตวิทยาที่แต่ละท่านยึดถือ เช่น หลักการสอนและวิธีการสอนตาม ทัศนะนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม ปัญญานิยม และมนุษย์นิยม

7 หลักการวัดผลและประเมินผลการศึกษา ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้จะช่วยให้นักการศึกษา และครูทราบว่า การเรียนการสอนมีประสิทธิหรือไม่ หรือผู้เรียนได้สัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์เฉพาะของแต่ละวิชาหรือหน่วยเรียน หรือไม่ เพราะถ้าผู้เรียนมีสัมฤทธิผลสูง ก็จะเป็นผลสะท้อนว่าโปรแกรมการศึกษามีประสิทธิภาพ

8 การสร้างบรรยากาศของห้องเรียนและการจัดการห้องเรียนเพื่อเอื้อการเรียนรู้และช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน

เนื้อหาของหนังสือนักจิตวิทยาการศึกษาเล่มนี้จะประกอบไปด้วยความรู้พ้นฐาน ดังกล่าวทั้ง 8 ข้อผู้เขียนได้พยายามรวบรวมเรียบเรียงจากหนังสือตำราจิตวิทยาการศึกษาที่ใช้ แพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา ผลการวิจัยที่ใช้อ่างอิงเกี่ยวกับการศึกษา เรื่องการเรียนการสอนก็เป็นผลที่ได้จากการวิจัยที่ทำในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกัน ฉะนั้นผู้อ่านควรจะหาโอกาสศึกษาเปรียบเทียบกับผลงานวิจัยในลักษณะเดียวกัน ที่ทำในประเทศไทย เพื่อจะพิจารณาว่าอิทธิพลขององค์ประกอบทางวัฒนธรรมและสังคมไทยจะมีส่วนทำให้ ผลการวิจัยในเรื่องเดียวกันเปลี่ยนแปรไปหรือไม่

ความเป็นครู

การเป็นครูไม่ใช่แครู้ว่าวันครูคือวันที่ ๑๖ มกราคม แต่ความเป็นครูนั้นเปรียบได้กับดอกกล้วยไม้ ต้องใช้เวลานาน ต้องดูแลเอาใจใส่เราจึงจะเห็นดอกกล้วยไม้ การผลิตบุคคลในวิชาชีพครูยิ่งต้องสร้างให้งดงามมาก ให้เขาเข้าใจความเป็นครูและความเป็นครูนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเพื่อจะสอนนักเรียนเท่านั้น แต่ครูยังจะต้องเป็นผู้ช่วยนักเรียนให้พัฒนาทางด้านสติ ปัญญา บุคลิกภาพ อารมณ์ และสังคมด้วย ดังนั้นครูต้องเป็นผู้ให้ความอบอุ่นแก่นักเรียน เพื่อนักเรียนจะได้มีความเชื่อและไว้ใจครู พร้อมที่จะพบครูเวลาที่มีปัญหา นอกจากนี้ครูจะต้องเป็นต้นฉบับที่ดีแก่นักเรียน ถ้าหากจะถามนักเรียนตั่งแต่ชั้นประถม จนถึงนิสิตนักศึกษาขั้นมหาวิทยาลัย ว่ามีใครบ้างในชีวิตของนักเรียนที่นักเรียนยึดถือเป็นต้นฉบับ นักเรียนส่วนมากจะมีครูอยู่อย่างน้อยหนึ่งคนเป็นต้นฉบับหรือตัวแบบและนัก เรียนจะยอมรับค่านิยมและอุดมการณ์ของครู เพื่อเป็นหลักของชีวิต อิทธิพลของครูที่นักเรียนยึดเป็นต้นฉบับจะติดตามไปตลอดชีวิต

มีผู้กล่าวว่า ครูเปรียบเสมือนนักศิลปินที่ปั้นรูป เพราะครูทุกคนมีส่วนในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียน แต่ผลงานของครูไม่เหมือนกับประติมากรที่พองามแต่ละชิ้นสำเร็จก็เห็นผล งาน อาจจะตั้งให้ชมได้ หรือถ้าไม่ชอบอาจจะแก้ไขเพิ่มเติมได้ ส่วนครูนั้นจะ ต้องรอจนนักเรียนกลับมาบอกครูว่าครูได้ช่วยเขาอย่างไร หรือมีอิทธิพลต่อ ชีวิตเขาอย่างไร และบางครั้งต้องรอก็เป็นการเสียเวลาเปล่าเพราะแม่ว่านัก เรียนบางคนจะคิดถึงความดีของครูแต่ก็คิดอยู่ในใจไม่แสดงออกจึงทำให้เคนทั่ว ไปรู้สึกว่าอาชีพครูเหมือนเรือจ้างมีหน้าที่ส่งคนข้ามฟากเท่านั้น ซึ่งเป็นเครื่องชี้ถึงทัศนคติทางลบที่มีต่ออาชีพครูมีส่วนทำให้บางคนตัดสิน ใจเลือกอาชีพครูเป็นอาชีพสุดท้าย

นิสิตและนักศึกษาที่เลือกการเรียนวิชาที่จะเป็นครู เมื่อเรียนจบแล้วอาจจะไม่ได้เป็นครูถ้ามีอาชีพอื่นให้เลือก ดังนั้นอาชีพครู จึงประกอบด้วยคน 2 ประเภท คือผู้ที่รักอาชีพครู และต้องการเป็นครูจริงๆ และผู้ที่ต้องเป็นครูด้วยความจำใจ ครูประเภทนี้บางคนได้พบว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่มีรางวันในใจที่ได้ช่วยเหลือ นักเรียนให้เรียนรู้หรือเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการทั้งด้าน สติปัญญาและบุคลิกภาพ จึงทำให้รู้สึกว่าเลือกอาชีพที่ถูกแล้ว แต่ครูบางคนมี ความรู้สึกว่าตนเลือกอาชีพผิดและต้องทนอยู่เพราะอยากมีงานทำและอยากมีเงิน ใช้แต่ไม่มีความสุข ครูประเภทนี้มีอันตรายเปรียบเสมือนฆาตกรนักเรียนทางดานจิตใจอย่างเลือด เย็น ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกต่ำต้อยและคิดว่าชีวิตของตนไม่มีค่า เป็นบุคคลที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีความสามารถและอาจจะต้องออกจากโรงเรียนด้วยการเรียนไม่สำเร็จ มีชีวิต ที่ประสบความผิดหวัง ไม่สามารถที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าได้โดยครูเองก็ไม่ทราบ ดังเช่นกรณีของเด็ก ชายคนหนึ่งชื่อ แดง

เด็กชายแดงเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.รู้สึกว่าชีวิตน่าเบื่อหน่ายเพราะตนเองเรียนไม่ดีแม้ว่าจะพยายามก็ได้แต่ เพียงคะแนนพอผ่านเท่านั้น

ความสำคัญของจิตวิทยาการศึกษาต่ออาชีพครู

วิชาจิตวิทยาการศึกษาสามารถช่วยครูได้ในเรื่องต่อไปนี้

1.ช่วยให้ครูรู้จักลักษณะนิสัยของนักเรียนที่ครูต้องสอน

โดยทราบหลักพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพเป็นส่วนรวม

2.ช่วยให้ครูมีความเข่าใจพัฒนาการทางบุคลิกภาพบางประการของนักเรียน

เช่นอัตมโนทัศน์ ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรียนรู้ถึงบทบาทของครูในการที่ช่วยนักเรียนให้มีอัตมโนทัศน์ที่ดีและถูกต้องได้อย่างไร

3.ช่วยครูให้มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล

เพื่อจะได้ช่วยนักเรียนเป็นรายบุคคลให้พัฒนาตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

4.ช่วยให้ครูรู้วิธีจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนให้เหมาะสมแก้วัยและขั้นพัฒนาการของนักเรียน

เพื่อจูงใจให้นักเรียนมีความสนใจและมีความที่อยากจะเรียนรู้

5.ช่วยให้ครูทราบถึงตัวแปรต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

เช่นแรงจูงใจอัตมโนทัศ และการตั้งความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียน

6.ช่วยครูในการเตรียมการสอนวางแผนการเรียน

เพื่อทำให้การสอนมีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้นักเรียนทุกคนเรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยคำนึงถึงหัวข้อต่อไปนี้

6.1 ช่วยครูเลือกวัตถุประสงค์ของบทเรียนโดยคำนึงถึงลักษณะนิสัยและความแตกต่าง ระหว่างบุคคลของนักเรียนที่จะต้องสอน และสามารถที่จะเขียนวัตถุประสงค์ให้นักเรียนเข้าใจว่าสิ่งคาดหวังให้นัก เรียนรู้มีอะไรบ้าง โดยถือว่าวัตถุประสงค์ของบทเรียนคือสิ่งที่จะช่วยให้นัก เรียนทราบ เมื่อจบบทเรียนแล้วนักเรียนสามารถทำอะไรได้บ้าง

6.2 ช่วยครูในการเลือกหลักการสอนและวิธีสอนที่เหมาะสม โดยคำนึงลักษณะนิสัยของนักเรียนและวิชาที่สอน และกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน

6.3 ช่วยครูในการประเมินไม่เพียงแต่เฉพาะเวลาครูได้สอนจนจบบทเรียนเท่านั้นแต่ ใช้ประเมินความพร้อมของนักเรียนก่อนสอน ในระหว่างที่ทำการสอน เพื่อทราบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าหรือมีปัญหาในการเรียนรู้อะไรบ้าง

7.ช่วยครูให้ทราบหลักการและทฤษฎีของการเรียนรู้ที่นัก

ได้พิสูจน์แล้วว่าได้ผลดี เช่น การเรียนจากการสังเกตหรือการเลียนแบบ

8.ช่วยครูให้ทราบถึงหลักการสอนและวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพ

รวมทั้งพฤติกรรมของครูที่มีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพว่ามีอะไรบ้าง เช่น การใช้คำถาม การให้แรงเสริม และการทำตนเป็นต้นแบบ

9.ช่วยครูให้ทราบว่านักเรียนที่มีผลการเรียนดีไม่ได้เป็นเพราะระดับเชาวน์ปัญญาเพียงอย่างเดียว

แต่มีองค์ประกอบอื่นๆ เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติหรือ อัตมโนทัศน์ของนักเรียนและความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียน

10.ช่วยครูในการปกครองชั้นและการสร้างบรรยากาศของห้องเรียน

ให้เอื้อต่อการเรียนรู้และเสริมสร้างบุคลิกภาพของนักเรียน ครูและนักเรียนมีความรักและไว้วางใจซึ่งกันและกันนักเรียน ต่างก็ช่วยเหลือกันและกัน ทำให้ห้องเรียนเป็นสถานที่ที่ทุกคนมีความสุขและนักเรียนรักโรงเรียน อยากมาโรงเรียน

เนื่องจากการศึกษามีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เยาวชนพัฒนาการทั้งทางด้านเชาวน์ ปัญญา และทางบุคลิกภาพ เพื่อช่วยให้เยาวชนมีความสำเร็จในชีวิต ทุกประเทศจึงหาทางส่งเสริมการศึกษา ให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานความเป็นเลศ ความรู้เกี่บวกับจิตวิทยาการศึกษาจึงสำคัญในการช่วย ทั้งครูและนักศึกษาผู้มีความรับผิดชอบในการปรับปรุงหลักสูตรและการเรียนการส อน

การบริหารจัดการในชั้นเรียน

การบริหารการจัดการในห้องเรียน

การ บริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความ สำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการส อน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการจัดการชั้นเรียน

1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอน ก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียน รู้

2. เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการ เรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการ ของมันเองและมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่บทเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่มวิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละ คนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียน

3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร

การเตรียมตัวเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ Kounin, J.S. (1970), Doyle and Carter (1984), Gump (1967, 1982), Rosenshine (1980), Doyle (1986), William Glasser (1986) เป็นต้น โดยสรุปการเตรียมเพื่อการบริหารการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ ชัดเจน และจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้ประสานสอดคล้องด้วยความระมัดระวังในระหว่างที่ เกิดการเปลี่ยนคาบสอนในตอนเริ่มต้นและสุดสิ้นการสอน

2. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะพัฒนาระบบในการยึดเหนี่ยวนักเรียนให้รับผิดชอบการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน

3. นอกเหนือจากการจะต้องมีทักษะในการวางแผนและการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้อง ครูก็ยังคงต้องเผชิญกับความยุ่งยากลำบากหรือนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนที่ มักจะก่อกวนมากกว่าจะร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย

4. ครูที่สามารถบริหารจัดการให้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการเข้าไปสอด แทรกแก้ปัญหาโดยทันท่วงทีกับนักเรียนที่สร้างปัญหาและต้องดำเนินการด้วยความ ยุติธรรมด้วย

5. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้ยอมรับในความสำคัญของอิทธิพลระหว่าง บุคคล คนแต่ละคนสามารถจะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ด้วยวิธีการ 5 วิธี คือ

5.1 ความสามารถในการควบคุมและให้รางวัลที่มีค่า

5.2 ความสามารถในการที่จะระงับการให้รางวัล

5.3 ความมีอำนาจโดยกฎหมาย ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติที่มีมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่

5.4 ความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทาง

5.5 ความเป็นผู้มีเสน่ห์ หรือเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีอิทธิพล

6. ครูสามารถจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้ด้วยการยกย่องชมเชย การให้รางวัลและการลงโทษ

7. วิธีการบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นต้นว่า การยืนยันความถูกต้องเกี่ยวกับความประพฤติ ความคาดหวัง เมื่อครูวางแผนกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือพิจารณาว่าจะใช้พื้นที่ในห้องเรียนทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ก็คือ ครูกำลังตัดสินใจครั้งสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำให้เกิดผลต่อระบบบริหาร จัดการชั้นเรียน ในทำนองเดียวกันทุกกลยุทธ์ที่จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สร้างผลผลิต เช่น การช่วยให้ชั้นเรียนพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม สร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และทำให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดเผย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียน

Wednesday, September 01, 2010

โมเดลต้นไม้


โมเดลการจัดความรู้ของ KM
โมเดลต้นไม้








ใบ คือ Know More ต้องรู้ให้มากขึ้น

จากสิ่งเดิมความรู้เดิม

เราจะต้องมาสนใจให้มากขึ้น

เรียกว่าเป็นการรู้ของเดิมให้รอบด้านมากกว่าเดิม



ลำต้น คือ Know Main การรู้หลัก

เราจะต้องรู้หลักการเรื่องของความรู้

จะต้องเข้าใจแก่นสาร เรื่องความรู้

ต้องรู้ว่า พัฒนาการของความรู้

ราก คือ Know Mind รู้ตน เป็นหัวใจสำคัญ

ของการจัดการความรู้ เราจะต้องรู้จักตนเอง

รู้จริต เรื่องการเรียนรู้ของตนเอง





ฟังเพลง Wake Up
Powered by you2play.com